เล็งใช้"ไลโปโซม" แทนที่ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะกำลังสร้างปัญหาทางสุขอนามัยและทางการแพทย์ต่อทั้งโลกมากขึ้นตาม ลำดับ หลังจากที่มีการนำเสนอ "เพนนิซิลิน" ยาปฏิชีวนะตัวแรกของโลกในทศวรรษ 1940 เนื่องจากยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดอาการดื้อยาสูง ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ประมาณว่า แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตราว 23,000 ราย ที่มีสาเหตุโดยตรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ
ในระดับโลก องค์การอนามัยโลกมองยาปฏิชีวนะในฐานะเป็นภัยคุกคามต่อทั้งโลก และระบุเมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากปราศจากการดำเนินงานสอดประสานกันจากทุกประเทศ โลกจะเดินเข้าสู่ยุคหลังยาปฏิชีวนะ เมื่อเชื้อโรคทุกอย่างดื้อยาประเภทนี้ที่มีทุกชนิด จนทำให้การติดเชื้อทั่วๆ ไป และอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้ถึงตายได้ ทั้งๆ ที่เคยรักษามาได้ง่ายๆ ต่อเนื่องกันมาหลายทศวรรษ
ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิจัยทั้งหลาย จึงพยายามค้นหาตัวยาหรือวิธีการที่จะนำมาใช้ทดแทนยา ปฏิชีวนะ เพื่อหลีกเลี่ยงชะตากรรมอันตรายใหญ่หลวงดังกล่าว หนึ่งในจำนวนวิธีการใหม่ล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสาร เนเจอร์ ไบโอเทคโนโลยี เมื่อเร็วๆ นี้ก็คือ การใส่โครงสร้างไลโปโซมขนาดเล็กเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย
โครงสร้าง ขนาดเล็กของไลโปโซม หรือถุงไขมันขนาดอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าระดับไมครอนซึ่งถูกส่งเข้าสู่ร่าง กายดังกล่าวนั้นจะได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้มีลักษณะเลียนแบบเซลล์เมมเบรน หรือเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกายคนเรา สำหรับใช้เป็นกับดักดึงดูดให้แบคทีเรียโจมตีมันแทนการโจมตีต่อเซลล์ในร่าง กาย
ไลโปโซมพิเศษนี้ชวนดึงดูดเป็นพิเศษสำหรับสารที่หลั่งจาก แบคทีเรีย ซึ่งมักเป็นพิษ เมื่อพิษดังกล่าวมาถึงไลโปโซม ก็จะถูกกักไว้ ไม่สามารถไปทำลายเซลล์หรือส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของคนเราอีกต่อไป นายเอดูออาร์ด บาบีชุก หัวหน้าทีมวิจัยดังกล่าวระบุว่า เมื่อพิษจากแบคทีเรียถูกกักเก็บอยู่กับไลโปโซมก็ง่ายต่อการกำจัดออกจากร่าง กายได้โดยไม่สามารถทำอันตรายผู้ป่วยในที่สุด
ความคาดหวังในการใช้ไล โปโซมทำนองนี้ก็คือ นอกจากมันจะช่วยไม่ให้ร่างกายได้รับความเสียหายแล้ว ก็จะยังสามารถไปเสริมความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับ การติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้น ทีมวิจัยเชื่อว่าการใช้ไลโปโซมจะช่วยให้ยาปฏิชีวนะที่ใช้ควบคู่กันไปมี ประสิทธิภาพมากขึ้นในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวก็ยังมีนักวิชาการบางท่านโต้แย้ง แฟรงก์ มาร์ติน บลังฮอร์สต์ หัวหน้าแผนกการทดลองคลินิก ของโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยเจนนา ในประเทศเยอรมนี ระบุว่า ไม่แน่ใจนักว่ากรรมวิธีดังกล่าวนี้จะได้ผล และชี้ว่าก่อนหน้านี้ก็เคยมีผู้พยายามใช้ไลโปโซมมาแล้วแต่ก็ล้มเหลว
นอกจากนั้น ทีมวิจัยในเรื่องนี้ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้นในห้องทดลอง โดยใช้ไลโปโซมที่ดัดแปลงใหม่ในหนูเท่านั้น
ต้องถือว่าการทดลองในคนจริงๆ ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนานมาก

|