ข้อ 19. |
กรณีกรรมการว่างลงก่อนครบกำหนดออกตามวาระ ในกรณีที่มีกรรมการว่างลงก่อนกำหนดออก
ตามวาระคณะกรรมการของสมาคมอาจตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ ให้เป็นกรรมการอยู่ได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ที่ตนแทน |
ข้อ 20. |
องค์ประชุมในการประชุมของคณะกรรมการ ร การประชุมของคณะกรรมการของสมาคม จะต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม นอกจากว่าในขณะที่มีการประชุมคณะกรรมการของสมาคมนั้นๆ จะมีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการของสมาคมน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ในกรณีที่มีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการของสมาคมน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรรมการแทน เพิ่มขึ้นให้ครบจำนวน หรือนัดเรียกประชุมเท่านั้นจะกระทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้ทั้งสิ้น |
ข้อ 21. |
มติของที่ประชุมคณะกรรมการ นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด |
ข้อ 22. |
ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกปฏิบัติหน้าที่แทนถ้าทั้ง นายก และอุปนายก ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุม เลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม เฉพาะในการประชุมคราวนั้น |
ข้อ 23. |
การประชุมคณะกรรมการ ให้มีการประชุมคณะกรรมการของสมาคมอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง อนึ่งในกรณีจำเป็น นายก หรือกรรมการรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน จะเรียกประชุมพิเศษขึ้นได้ |
ข้อ 24. |
การรับมอบงานของคณะกรรมการ เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แต่ละครั้งในกรณีครบวาระ หรือคณะกรรมการชุดเดิมลาออกทั้งคณะ ให้คณะกรรมการของสมาคมชุดใหม่ยื่นจดทะเบียนเป็นคณะกรรมการของสมาคมการค้ากรุงเทพมหานครภายใน กำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันยื่นจดทะเบียนเป็นกรรมการ
หากว่าไม่มีการยื่นจดทะเบียนเป็นกรรมการชุดใหม่ตามความในวรรคก่อนให้ถือว่ากรรมการในชุดเดิมเป็นคณะกรรมการ ของสมาคม อยู่เดิมตราบเท่าเวลานั้น |
ข้อ 25. |
อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการของสมาคมมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ :-
- จัดดำเนินการกิจการและทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม
- เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการของสมาคม
- วางระเบียบในการปฏิบัติงานของสมาคม
- ว่าจ้าง แต่งตั้ง และถอดถอน ที่ปรึกษาของคณะกรรมการสมาคม อนุกรรมการเจ้าหน้าที่ และ พนักงานทั้งปวงเพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อย โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการสมาคม
|
ข้อ 26. |
อำนาจหน้าที่กรรมการของสมาคมในตำแหน่งต่างๆ อำนาจหน้าที่ของกรรมการสมาคม
ในตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้ :-
- นายก มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับ และระเบียบ ในการปฏิบัติงานของสมาคมเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมของคณะกรรมการของสมาคมตลอดจนในที่ประชุมใหญ่สมาชิก
- อุปนายก มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายก ในกิจการทั้งปวงอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกและเป็นผู้ทำการแทนนายกเมื่อนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
- เหรัญญิก มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินของสมาคม ทำบัญชีการเงิน เก็บรักษาทรัพย์สินและจ่ายพัสดุของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้มอบหมาย
- นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆ อันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้มอบหมาย
- เลขาธิการ มีหน้าที่ทำการตอบหนังสือ เก็บรักษาเอกสารต่างๆของสมาคมเป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคม และที่ประชุมใหญ่ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้มอบหมาย
|
หมวดที่ 7
การประชุมใหญ่ |
ข้อ 27. |
การประชุมใหญ่ การประชุมใหญ่ให้หมายถึงการประชุมสมาชิกของสมาคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ :-
- การประชุมใหญ่สามัญประจำปี คือ การประชุมใหญ่ที่จะต้องให้มีขึ้นครั้งหนึ่งทุกระยะ
เวลาสิบสองเดือน
- การประชุมใหญ่วิสามัญ คือ การประชุมใหญ่ครั้งอื่นๆ บรรดามี นอกจากการประชุม
ใหญ่สามัญประจำปี
|
ข้อ 28. |
กำหนดการประชุมใหญ่ กำหนดการประชุมใหญ่ ดังนี้ :- |
|
- ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี
- ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งซึ่งคณะกรรมการของสมาคมเห็นสมควร หรือสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมดแสดงความจำนงที่จะให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการของสมาคม ให้คณะกรรมการของสมาคมนัดประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หนังสือบอกกล่าวจะต้องระบุข้อความแจ้งเหตุ เพื่อการใดที่จะขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญด้วย
|
ข้อ 29. |
การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม คณะกรรมการของสมาคมจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึง
วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบโดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิก ที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน หรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ภายใต้บังคับของความในวรรคแรก ในกรณีที่เป็นการนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องแนบสำเนารายงานการประชุมประจำปีและสำเนางบดุล ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วไปด้วย |
ข้อ 30. |
องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่ของสมาคมจะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุม
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม
|
ข้อ 31. |
กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม การประชุมใหญ่ที่ได้เรียกนัดประชุม
วัน และเวลาใดหากพ้นกำหนดไปแล้ว 1 ชั่วโมงยังมีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุมถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นให้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอให้เลิกประชุม ถ้ามิใช่สมาชิกร้องขอให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และทำการบอกกล่าวนัดประชุม วัน เวลา และสถานที่ประชุมใหญ่นี้อีกครั้งหนึ่งภายในกำหนดเวลา 15 วันนับแต่วันประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมามากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม |
ข้อ 32. |
ประธานในที่ประชุม ให้นายกเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้านายกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้อุปนายกทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกและอุปนายกไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าและไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกสามัญคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธาน ในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น |
ข้อ 33. |
วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะเเนนและ
สมาชิกสามัญคนหนึ่งๆ มีคะแนนเสียงหนึ่งเสียง
การออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ให้ถือปฏิบัติเป็น 2 กรณี คือ :-
- โดยวิธีเปิดเผย ให้ใช้วิธีชูมือ
- โดยวิธีลงคะแนนลับ ให้ใช้วิธีเขียนบัตรลงคะแนนและจะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการของสมาคม หรือสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมร้องขอ
|
ข้อ 34. |
มติของที่ประชุมใหญ่่ นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด |
ข้อ 35. |
กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีี กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่
สามัญประจำปีมีดังนี้ :-
- รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
- พิจารณารายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินกิจการของสมาคมที่ผ่านมาในรอบปี
- พิจารณาและรับรองงบดุล
- เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคม
- เลือกตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี และกำหนดค่าตอบแทน
- เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
|
ข้อ 36. |
กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญ กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญ
นั้นได้แก่ กิจการที่จะกระทำโดยอาศัยมติจากที่ประชุม แต่ไม่อาจหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถ
จัดทำได้ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี |
หมวดที่ 8
การเงินและการบัญชีของสมาคม |
ข้อ 37. |
การจัดทำงบดุล ให้คณะกรรมการของสมาคมจัดทำงบดุลปีละหนึ่งครั้ง แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีไม่เกินเดือนมกราคมของทุกปี และผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีไม่น้อยกว่า 30 วัน |
ข้อ 38. |
ปีการบัญชี ให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันสิ้นปีการบัญชีของสมาคม |
ข้อ 39. |
อำนาจของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งมีอำนาจเข้าตรวจสอบสมุดบัญชีและบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม และมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญขีและเอกสารดังกล่าว ในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประการเพื่อตรวจสอบเช่นว่านั้น |
ข้อ 40. |
การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารการเงิน สมุดบัญชีและเอกสารการเงินของสมาคมจะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคม และให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิก |
ข้อ 41. |
การเงินของสมาคม เงินสดของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในนามของสมาคมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการจะกำหนดวงเงินทดลองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมให้เหรัญญิกเป็น
ผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงิน
การถอนเงินจากธนาคาร ให้อยู่ในอำนาจของนายก อุปนายก เหรัญญิก หรือ
กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมลงนามร่วมกันสองคน |
ข้อ 42. |
การจ่ายเงินของสมาคม ในการสั่งจ่ายเงินของสมาคมแต่ละครั้งให้กระทำตามระเบียบการสั่งจ่าย
ที่คณะกรรมการของสมาคมกำหนดไว้ทุกครั้งไป |
หมวดที่ 9
การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี |
ข้อ 43. |
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนข้อบังคับ ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม |
ข้อ 44. |
การเลิกสมาคม สมาคมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ :-
- เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด
- เมื่อล้มละลาย
- เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้เลิกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
|
ข้อ 45. |
การชำระบัญชีี เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไปเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวในข้อ 44 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำ บทบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 มาใช้บังคับ
ในกรณีที่สมาคมต้องเลิกไปตามข้อ 44.1 ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลือกตั้งกำหนด ตัวผู้ชำระบัญชีเสียด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ 44.3 ให้กรรมการทุกคนในคณะกรรมการของสมาคมชุดสุดท้ายที่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมการค้า-ประจำกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ชำระบัญชี
หากมีทรัพย์สินของสมาคมเหลือจากการชำระบัญชีให้ยกให้แก่นิติบุคคลในประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ การกุศลสาธารณะ แห่งหนึ่งแห่งใด หรือหลายแห่งตามมติของที่ประชุมใหญ่ |
หมวดที่ 10
บทเฉพาะกาล |
ข้อ 46. |
เมื่อนายทะเบียนการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาชิกการค้าแล้วให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง 3 คน ทำหน้าที่คณะกรรมการของสมาคมชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการของสมาคมตามข้อบังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายในกำหนดเวลา 120 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้ว |
ข้อ 47. |
เพื่อประโยชน์แห่งความในข้อบังคับข้อ 8 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง 3 คน ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสามัญ |
ข้อ 48. |
ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเป็นต้นไป |
|
|