การป้องกันโรคมีแนวทางปฏิบัติได้หลายวิธี ซึ่งต้องปฏิบัติหลายวิธีร่วมกัน เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคหรือลดความสูญเสียจากการเกิดโรค กล่าวคือ 1. ดูแลไก่พันธุ์ให้มีสุขภาพดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากไก่แม่พันธุ์มายังลูกไก่ ไข่ที่จะนำเข้าฟัก ควรมีการฆ่าเชื้อที่เปลือกไข่คัดไข่ร้าว ไข่แตก และไข่สกปรกออก เพื่อลดการติดเชื้อที่เปลือกไข่และดูแลโรงฟักไข่ให้มีสุขศาสตร์พื้นฐานที่ดี 2. เริ่มต้นด้วยลูกไก่ที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดเชื้อมัยโคพลาสมา และควรมีโปรแกรมตรวจคุณภาพลูกไก่เป็นประจำ ซึ่งในการตรวจคุณภาพลูกไก่นั้น การตรวจเชื้อ อี.โคไล ในลูกไก่เป็นเชื้อชนิดหนึ่งที่มีการตรวจเป็นประจำ ดูแลไก่ให้ดีในช่วงกก อย่าให้เชื้อหนาวหรือร้อนเกินไป อย่าให้ลมโกรก อย่ากกไก่หนาแน่นมาก วัสดุรองพื้นไม่เปียกชื้น มีน้ำและอาหารกินอย่างพอเพียง 3. ระมัดระวังเรื่องแหล่งน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงไก่ ควรเก็บตัวอย่างน้ำ ส่งตรวจจำนวนเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อ อี.โคไล ถ้าพบแบคทีเรียจำนวนมาก ควรบำบัดน้ำด้วยสารคลอรีนก่อนใช้เลี้ยงไก่ และใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบปิด เช่น หัวนิปเปิล ซึ่งช่วยป้องกันการปนเปื้อนของน้ำจากเชื้อ อี.โคไล ภายในโรงเรือนไก่ได้
4. ควบคุมอาการแพ้วัคซีนเชื้อเป็น เพื่อไม่ให้มีโรคโคไลบาซิลโลซิสตามมา หรือถ้ามีก็พยายามใช้ยาควบคุมโรคให้ได้ อย่าปล่อยให้ไก่ป่วยเรื้อรัง 5. การจัดการพื้นฐานที่ดีของฟาร์ม ได้แก่ ระยะพักโรงเรือนนานพอ การสุขาภิบาลที่ดี ลดการนำพาเชื้อ อี.โคไล เข้าฟาร์ม เช่น ควบคุมการสัญจรผ่านฟาร์ม รวมทั้งการกำจัดพาหะนำโรค ดูแลไก่ช่วงที่มีการเปลี่ยนอาหาร หรืออากาศเปลี่ยนแปลง ภายในโรงเรือนมีการระบายอากาศที่ดี จะช่วยลดเชื้อ อี.โคไล ในฝุ่นละออง และในสิ่งแวดล้อมลงได้ ช่วยลดความชื้นในโรงเรือนและในวัสดุรองพื้น และลดแอมโมเนียในสิ่งแวดล้อมลงด้วย มีผลให้ไก่มีสุขภาพดี และมีความต้านทานโรคสูง 6. การให้วัคซีน ปัจจุบันมีทั้งวัคซีนชนิดเชื้อเป็นและเชื้อตายที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการค้า สำหรับวัคซีนที่มีจำหน่ายในประเทศไทยเป็นวัคซีนเชื้อเป็นสายพันธุ์ O78 ที่ตัดยีน aro A จากข้อมูลของผู้ผลิตระบุว่า วัคซีนมีความปลอดภัยต่อไก่ ตัวเชื้ออี.โคไลที่มีในวัคซีนไม่สามารถก่อโรคและเปลี่ยนชนิดก่อโรคได้ แนะนำให้โดยพ่นเป็นละอองในไก่เนื้ออายุ 1 วัน ถ้าเป็นไก่ไข่และไก่พันธุ์ ให้ทำซ้ำอีกครั้ง เมื่อไก่อายุ 12-14 สัปดาห์ ซึ่งข้อมูลจากผู้ผลิตบอกว่า ช่วยลดความเสียหายจากโรคโคไลบาซิลโลซิสได้ในไก่เนื้อ ไก่ไข่ และไก่พันธุ์ ภายหลังไก่ได้รับวัคซีนสามารถตรวจพบเชื้อของวัคซีนในตัวไก่และสิ่งแวดล้อมได้ไม่เกิน 8 วัน
ข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน จากการทดลองที่ได้มีการทดลองกับเชื้อ อี.โคไล ในประเทศไทย เช่น การทดลองของ Rawiwat and Chansiripornchai (2009) ได้ทำการทดลองโดยการให้วัคซีน อี.โคไล ในไก่เนื้อ ดังรายละเอียดการทดลอง ดังนี้ ไก่เนื้อ จำนวน 33 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11 ตัว ไก่กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับวัคซีน แต่ได้รับเชื้อโรค) ไก่กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมบวก (ไม่ได้รับวัคซีนแต่ได้รับเชื้อโรค) ไก่กลุ่มที่ 3 ได้รับวัคซีน เมื่อไก่อายุ 5 วัน ตัวละ 1 โด๊ส (ปริมาณของวัคซีนที่ให้ในไก่แต่ละตัว เป็นไปตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต) เมื่อไก่อายุ 28 วัน ไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ทุกตัว ได้รับเชื้อ อี.โคไล ที่แยกได้ในประเทศไทย สายพันธุ์ O78 ไก่แต่ละตัวได้รับเชื้อ อี.โคไล ทางท่อลม ตัวละ 0.5 มิลลิลิตร (ปริมาณเชื้อ อี.โคไล 1.2 x 109 CFU/มิลลิลิตร) สังเกตอัตราการป่วยและอัตราการตายนาน 7 วัน และเมื่อไก่อายุ 35 วัน หรือ 7 วัน หลังได้รับเชื้อทำการประเมินรอยโรคและแยกเชื้อจากไก่ทั้งหมด
ผลการทดลอง พบว่า ไก่ที่ได้รับเชื้อ อี.โคไล ทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ ไก่กลุ่มที่ 2 (ไม่ได้รับวัคซีน อี.โคไล) และไก่กลุ่มที่ 3 (ได้รับเชื้ออี.โคไล) มีจำนวนไก่ตายเท่ากัน คือ กลุ่มละ 1 ตัว แต่ไก่กลุ่มที่ 2 มีจำนวนไก่ป่วยมากกว่า มีคะแนนรอยโรคสูงกว่า และมีจำนวนไก่ที่ตรวจพบเชื้อ อี.โคไล มากกว่าไก่กลุ่มที่ 3
ตารางจำนวนไก่ป่วยและไก่ตายภายหลังได้รับเชื้อ
กลุ่ม
|
วัคซีน
|
ป่วย
|
ตาย
|
1 ควบคุมลบ
|
ไม่ให้
|
0/11B,a
|
0/11a
|
2 ควบคุมบวก
|
ไม่ให้
|
10/11b
|
1/11a
|
3 วัคซีน
|
ให้A
|
7/11b
|
1/11a
|
ที่มา : ดัดแปลงจาก Rawiwat, V. and Chansiripornchai, N. 2009.
A ให้วัคซีนเมื่อไก่อายุ 5 วัน
B จำนวนไก่ป่วยหรือตาย / จำนวนไก่ในกลุ่ม
a,b อักษรที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ตาราง รอยโรคและการแยกเชื้อ อี.โคไล หลังได้รับเชื้อ
กลุ่ม
|
รอยโรคการอักเสบที่เนื้อเยื่อ-อวัยวะต่างๆ
|
แยกเชื้อ อี.โคไล
|
ถุงลม
|
ถุงหุ้มหัวใจ
|
เยื่อรอบตับ
|
ข้อ
|
รอยโรครุนแรง
|
1
|
0.00a (0/11A,a)
|
0.00a (0/11A,a)
|
0.00a (0/11A,a)
|
0.00a
|
(0/11A,a) (0%)
|
0/11a,c
|
2
|
2.82+1.33B,b (10/11b)
|
0.91+0.70b (8/11b)
|
0.18+0.60a (1/11a)
|
6/11b
|
4/11b (36.36%)
|
5/11b
|
3
|
0.82+1.40a (4/11C)
|
0.55+0.52b (6/11b)
|
0.00a (0/11a)
|
1/11a
|
0/11a (0%)
|
1/11a
|
ที่มา : ดัดแปลงจาก Rawiwat, V. and Chansiripornchai, N. 2009.
A จำนวนไก่ที่พบรอยโรค/จำนวนไก่ทั้งกลุ่ม
B ค่าเฉลี่ยคะแนนรอยโรค (mean) + ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
คะแนนรอยโรคถุงลมอักเสบ : 0= ไม่มีรอยโรค 4 = มีรอยโรครุนแรงที่สุด
คะแนนรอยโรคการอักเสบของถุงหุ้มหัวใจ : 0 = ไม่มีรอยโรค 2 = มีรอยโรครุนแรงที่สุด
คะแนนรอยโรคการอักเสบของเยื่อรอบตับ : 0 = ไม่มีรอยโรค 2 = มีรอยโรครุนแรงที่สุด
C จำนวนไก่ที่ตรวจพบเชื้อ อี.โคไล / จำนวนไก่ทั้งกลุ่ม
a, b, c อักษรที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
จากผลการทดลอง สรุปได้ว่า ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีนสามารถป้องกันผลจากการติดเชื้ออี.โคไลได้ในระดับที่น่าพอใจ แต่เนื่องจากการทดลองครั้งนี้ใช้เชื้ออี.โคไลเพียงสายพันธุ์เดียว ขณะที่เชื้อก่อโรคในฟาร์มมีมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งอาจให้ผลการทดลองที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ดังเช่น ผลการทดลองที่มีการให้วัคซีนไก่พร้อมๆ กัน จำนวนหลายโรงเรือนในฟาร์มแล้วประเมินผลจากการเลี้ยงบางการทดลองพบว่า ไก่ที่ได้รับวัคซีนมีการผลการเลี้ยงดีกว่าไก่ที่ไม่ได้รับวัคซีน ในขณะที่บางการทดลองพบว่า ไก่ที่ได้รับและไม่ได้รับวัคซีนมีผลการเลี้ยงที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องต่างกัน เช่น มีการเลี้ยงการจัดการ หรือสภาพแวดล้อมในแต่ละโรงเรือนแตกต่างกัน มีภาวะของโรคแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน หรือจำนวนเชื้อ สายพันธุ์ของเชื้อ และความรุนแรงของเชื้อมีความแตกต่างกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากข้อจำกัดของการให้ยาในปัจจุบัน ซึ่งยาที่สามารถให้ได้ มีไม่กี่ชนิด และมีปัญหาเชื้อโรคดื้อยา มีผลให้ยารักษาโรคไม่ได้ผล รวมทั้งในระยะท้ายของการเลี้ยงก็ไม่สามารถให้ยาได้ เนื่องจากจะก่อให้เกิดปัญหายาตกค้าง ดังนั้น การให้วัคซีนอาจเป็นแนวทางที่ต้องนำมาพิจารณาและต้องพิจารณาผลการใช้จริงที่ฟาร์มว่า วัคซีนสามารถลดความเสียหายจากโรคได้หรือไม่ เนื่องจากผลในการป้องกันโรคของวัคซีนอี.โคไล ไม่ได้มีความชัดเจนเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะตามธรรมชาติของโรคและคุณลักษณะของวัคซีน
อย่างไรก็ตาม การให้วัคซีนเป็นเพียงมาตรการทางเลือกที่พิจารณานำเข้ามาเสริมเพิ่มเติม จากมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติควบคู่กันไป เพื่อผลที่ดีที่สุดของการเลี้ยงไก่ ทั้งด้านพื้นฐานของการเลี้ยง และการจัดการสุขศาสตร์พื้นฐาน ที่สำคัญต้องมีมาตรการป้องกันโรคที่ดีอยู่เสมอ...
ขอบคุณแหล่งที่มา
|