น.สพ.วินัย ทองมาก
บริษัท ไลฟ์ อินโฟร์เมติกส์ จำกัด
ข้อควรรู้ เมื่อใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์
-เอนไซม์1 1
ณ จุดที่ pH และ อุณหภูมิ เหมาะสมเท่านั้น
-เอนไซม์ตัวเดี่ยว ไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์
-เอนไซม์ชื่อเหมือนกัน ออกฤทธิ์และทำงานไม่เหมือนกัน
-Substrate) ปริมาณมากพอ
-อายุของสัตว์ที่ใช้เอนไซม์pH
-การตอบสนองของผลการใช้เอนไซม์
-การใช้เอนไซม์ต้องคุ้มค่าและวัดผลได้
ผลที่ได้จากการใช้ NSP เอนไซม์ (เอนไซม์ย่อยกลุ่มคาร์โบไฮเดรต Carbohydrolase)
-ผลต่อการเจริญเติบโตSubstrate
-ผลต่อการเพิ่มขึ้นของสารอาหารCarbohydrase
-ผลต่อเยื่อใยอาหาร (Digesta viscosity) wheat
-ผลต่อพลังงานEndogenous Energy Loss NSP
-ผลต่อไนโตรเจน (N)และ กรดอะมิโนN NSP
-ผลต่อแร่ธาตุxylanase, amylase protease
-ผลต่อสุขภาพทางเดินอาหาร (Gut health)enterotoxic E.coliNSP lactic acid organic acid Volatile Fatty Acid
เอนไซม์ คือคำตอบของความต้องการเหล่านี้
1.ต้องการเพิ่มการย่อยได้ของวัตถุดิบ ?
ในกรณีที่ผู้เลี้ยงเล็งเห็นว่า “การกินได้” เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยง เช่น การกินได้ในเล้าคลอดที่สูงถึงจุดหนึ่งแล้ว (6-7 กก./ตัว/วัน) แต่อยากให้น้ำนม, น้ำหนักหย่านมดีขึ้นอีก คงต้องทำให้อาหารที่กินได้เยอะแล้วนั้นย่อยดีขึ้นด้วย หรือกรณีของลูกหมูหลังหย่านมถึงระยะอนุบาล (ช่วงอายุ 3 – 10 สัปดาห์) ซึ่งการกินได้และการย่อยได้ มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโต การใส่เอนไซม์ที่ช่วยเพิ่มการย่อยได้ เช่น เอนไซม์โปรติเอส, เอนไซม์ไลเปส, เอนไซม์อัลฟา-กาแลคโตซิเดส, เอนไซม์อะไมเลสจะช่วยได้อย่างมาก ขณะที่เอนไซม์ในกลุ่ม NSPเอนไซม์ จะช่วยลด FCR และการเพิ่ม ADG ในหมูเล็ก, หมูรุ่น และหมูขุนได้เป็นอย่างดี
2.ต้องการลดต้นทุนค่าอาหาร ?
ในกรณีที่ฟาร์มมั่นใจว่า “ได้จัดซื้อเอนไซม์ที่มีคุณภาพมาใช้” ฟาร์มสามารถคำนวณสูตรอาหารโดยลดความเข้มข้นของสารอาหารต่างๆ เช่น พลังงาน, โปรตีน, ฟอสฟอรัส ลงได้ระดับหนึ่ง แล้วใช้เอนไซม์ใส่เพื่อเพิ่มให้ระดับสารอาหารในสูตรกลับมาอยู่ในระดับเดิม วิธีนี้ส่วนใหญ่ราคาอาหารใหม่เมื่อรวมราคาเอนไซม์ด้วยจะถูกกว่าราคาอาหารเดิม วิธีนี้ฟาร์มส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ มักจะใช้วิธีเติมเอนไซม์ลงไปเฉย ๆ และหวังผลว่า การย่อยได้ที่ดีขึ้น จะช่วยให้หมูโตดีขึ้นและช่วยชดเชยค่าเอนไซม์ที่เติมลงไป ซึ่งจะเป็นจริง! “ถ้าอาหารนั้นมีวัตถุดิบให้เอนไซม์ย่อย หมูไม่ป่วยเรื้อรัง และศักยภาพของสายพันธุ์รองรับเท่านั้น”
3.ต้องการใช้วัตถุดิบทดแทนที่ย่อยยาก ?
ในช่วงเวลาที่ราคาหมูตกต่ำ หรือราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงมาก หรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองอย่าง ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องอยู่รอด ด้วยการลดสเปคอาหารหรือหาวัตถุดิบทดแทนราคาถูกมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุดิบทดแทนจะค่อนข้างย่อยยาก “การใช้เอนไซม์ช่วยย่อยวัตถุดิบทดแทนจะทำให้ฟาร์มลดค่าใช้จ่ายได้มาก เอนไซม์กลุ่มนี้มักจะเป็น NSP เอนไซม์” ซึ่งควรจะเลือกให้ตรงกับชนิดของวัตถุดิบทดแทน เช่น จะเลือกใช้เอนไซม์เบต้า-กลูคาเนสมากขึ้นในกรณีที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า เช่น ข้าวสาลี หรือเลือกเอนไซม์ให้เด่นที่เอนไซม์อะไมเลส, กลูโคอะไมเลสในกรณีที่ใช้มันสำปะหลังในปริมาณสูงๆ เป็นต้น
4. ต้องการดึงฟอสฟอรัสในพืชมาใช้ ?
ฟอสฟอรัสที่ตกค้างในมูลสัตว์ เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ฟอสฟอรัสในพืชที่ย่อยยากที่รู้จักกันในชื่อ “ไฟเตท” ยังมีผลต่อการใช้ประโยชน์ได้ของสารอาหารต่าง ๆ ด้วย เช่น การใช้ประโยชน์ของแคลเซียม, สังกะสี (ซิงค์), ของโปรตีน, และของไลซีนจะลดลง เนื่องจากการจับกันระหว่างวงแหวนไฟเตทกับสารเหล่านี้ ดังนั้นการย่อยไฟเตท นอกจากจะได้ฟอสฟอรัส (IP) จากพืชมาใช้ และสามารถลดการใช้ P18 หรือ P21 ลงได้แล้ว การใช้ประโยชน์ได้ของสารอาหารต่าง ๆจะดีขึ้นด้วย เอนไซม์ที่ย่อยไฟเตทคือ “เอนไซม์ไฟเทส” ซึ่งควรจะเป็นเอนไซม์ไฟเทสที่ทำงานได้ดีในกระเพาะอาหาร และมีความไว (Affinity)ในการย่อยไฟเตทได้เร็วและดีแม้ว่าจะมีไฟเตทในระดับต่ำ การใช้เอนไซม์ไฟเทสที่มีคุณภาพต่ำ หวังผลแต่ราคาถูกอย่างเดียว นอกจากจะเสียเงินฟรีแล้ว หากใช้วิธีลดสเปคฟอสฟอรัสลงและคำนวณโดยใช้ Matrix value อาจทำให้มีปัญหาได้เนื่องจากคุณภาพเอนไซม์ไม่ดี หรือถูกทำลายด้วยความร้อนจนเหลือเอนไซม์ที่ออกฤทธิ์น้อยมาก
5. ต้องการลดปัญหาสารต้านโภชนะ (Anti-Nutritional Factors) ?
การใช้เอนไซม์ไฟเทสในระดับสูง (มากกว่า 1,000 FTU/KG ขึ้นไป หรือเรียกว่า Supradosing) มีส่วนช่วยให้ไฟเตทที่เหลืออยู่ ถูกย่อยได้มากขึ้น ทำให้ได้ฟอสฟอรัส (IP) มากขึ้น ขณะเดียวกันสารอาหารอื่น ๆ ที่เกาะอยู่กับวงแหวนไฟเตท ก็จะถูกปลดปล่อยมากขึ้น สารอาหารบางตัวเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ทำให้การย่อยได้ดีขึ้นเมื่อแร่ธาตุเหล่านั้นถูกปลดปล่อยออกมา ไฟเตทที่น้อยลง ทำให้ลด Gut Endogenous Loss ลง การย่อยได้สุทธิจึงดีขึ้น สารอาหารต่าง ๆ ที่ไม่ถูกจับถูกนำมาใช้มากขึ้น พลังงานที่ได้รับก็ดีขึ้นตามด้วย “การใช้เอนไซม์ไฟเทสในระดับสูง”นี้ ถูกแพร่ขยายความรู้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ในแม่พันธุ์และลูกหมูอนุบาล อย่างไรก็ดีไม่ใช่เอนไซม์ไฟเทสทุกตัวจะใช้ตามทฤษฎีนี้ได้
6. จะเลือกใช้เอนไซม์แบบไหนดีและประเมินผลอย่างไร ?
การใส่เอนไซม์ที่ออกฤทธิ์ได้ดีจริงลงในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเอนไซม์ไฟเทส หรือNSPเอนไซม์ หากผู้ออกสูตร (Formulators) ได้เข้าฟาร์มและติดตามผลอย่างใกล้ชิดจะพบว่า เอนไซม์ที่ดีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของหมูในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า เช่น ผิวพรรณเป็นสีชมพูขึ้น, ขนนิ่มสั้น, กล้ามเนื้อออกชัดเจน, โตเร็วขึ้น ขณะที่เอนไซม์ที่ฟาร์มช่วยซื้อโดยที่คุณภาพมาที่หลังคือไม่ดีนัก มักจะไม่ค่อยพบการเปลี่ยนแปลงอะไร นอกจากได้ใส่การใส่เอนไซม์ในอาหารสัตว์เป็นเรื่องคุ้มค่า และช่วยลดต้นทุนได้จริง ผู้เลี้ยงจึงควรคัดสรรและเลือกใช้โดยการจับตัวเลขผลผลิต ดูที่ตัวหมูจะพบว่าหมูโตดีขึ้น, FCR ต่ำลงจริง, ต้นทุนลดลงตามคุณประโยชน์ของเอนไซม์ที่ฟาร์มพึงได้รับหรือไม่ เอนไซม์ที่ซื้อจากหลาย แหล่งมาผสมกันและขายเป็นเอนไซม์รวม ก็ต้องมีเทคโนโลยีที่ดีรองรับจึงจะทำได้ ขณะที่เอนไซม์รวมที่มาจากการหมักด้วยวิธี Solid State Fermentation จากเชื้อตัวเดียวที่คัดเลือกสายพันธุ์ที่ถูกต้องและวิจัยมาแล้ว ก็จะได้เอนไซม์รวมที่ออกฤทธิ์ และทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
“ความสำคัญของการใช้เอนไซม์จึงอยู่ที่ว่า ฟาร์มต้องมีการประเมินผลการใช้นั่นเอง”
ขอบคุณแหล่งที่มา
|